เมนู

ต้นไม้ผลิตผลในวันนี้ ฉะนั้นเถิด.
[1245] ท้าวสักกเทวราช ประทานพรแก่พญา-
นกแขกเต้าทำต้นไม้ให้มีผลแล้ว พาพระมเหสี
เสด็จกลับเทพนันทวัน.

จบ จุลลสุวกราชชาดกที่ 4

อรรถกถาจุลลสุวกราชชาดกที่ 4



พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระนครสาวัตถี ทรงปรารภ
เวรัญชกัณฑ์ จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า สนฺติ รุกฺขา ดังนี้.
เมื่อพระศาสดาเสด็จจำพรรษา ณ เมืองเวรัญชา แล้วเสด็จถึง
พระนครสาวัตถีโดยลำดับ ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมสภา
ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระตถาคตเป็นกษัตริย์สุขุมาลชาติ เป็น
พุทธสุขุมาลชาติประกอบด้วยอิทธานุภาพอันยิ่งใหญ่ เวรัญชพราหมณ์
นิมนต์ไป ได้จำพรรษาอยู่ตลอด 3 เดือน ไม่ได้ภิกษาจากสำนัก
เวรัญชพรหมณ์แม้สักวันเดียว เพราะถูกมารดลใจเสีย ทรงละความ
โลภอาหารเสียได้ ดำรงพระชนม์ด้วยข้าวสำหรับเลี้ยงม้าที่พ่อค้าม้าถวาย
วันละแล่ง มิได้เสด็จไปที่อื่น ความที่พระตถาคตทรงมักน้อยสันโดษนี้
น่าสรรเสริญเหลือเกิน พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุ

เหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายการละ
ความโลภในอาหารของตถาคตในบัดนี้ยังไม่น่าอัศจรรย์ แม้ในกาลก่อน
ตถาคตเกิดเป็นสัตว์เดียรฉานก็ได้ละความโลภอาหารมาแล้ว ดังนี้ แล้ว
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
เนื้อเรื่องทั้งหมดพึงทราบโดยพิสดารตามทำนองที่ที่กล่าวมาแล้ว
ในหนหลัง ในตอนนี้มีใจความว่า ท้าวสักกเทวราช ทรงแปลงพระองค์
เป็นพญาหงส์ สนทนากันพญานกแขกเต้า จึงได้ตรัสคาถานี้ว่า :-
ต้นไม้ทั้งหลายที่มีใบเขียว มีผลดก
มีอยู่เป็นอันมาก เหตุไรพญานกแขกเต้าจึง
มีใจยินดีในต้นไม้แห้งผุเล่า.
เราเคยบริโภคผลแห่งต้นไม้นี้นับได้
หลายปีมาแล้ว ถึงเราจะรู้ว่าต้นไม้นี้ไม่มีผล
แล้ว ก็ต้องรักษาความไมตรีไว้ให้เหมือนดัง
ก่อน.
นกทั้งหลายย่อมละทิ้งต้นไม้แห้งผุ ขาด
ใบไร้ผลไปในที่อื่น ดูก่อนพญานกแขกเต้า
ท่านเห็นโทษอะไรหรือ ?

นกเหล่าใดคบหากันเพราะต้องการผล
ไม้ ครั้นรู้ว่าต้นไม้นั้นไม่มีผล ก็ละทิ้งต้นไม้
นั้นไปเสียนี้เหล่านั้นโง่เขลา มีปัญญาที่เห็น
แก่ตัว มักทำฝักใฝ่แห่งมิตรภาพให้ตกไป.
ความเป็นเพื่อน ความไมตรี ความ
สนิทสนมกันท่านได้ทำได้เป็นพยานดีแล้ว
ถ้าท่านชอบใจธรรมนั้น ท่านก็เป็นผู้ควรที่
วิญญูชนทั้งหลายพึงสรรเสริญ.
ดูก่อนพญานกแขกเต้า ผู้ชาติวิหคมีปีก
เป็นยานพาหนะ มีคอโค้งเป็นสง่า เรานั้นจะ
ให้พรแก่ท่าน ท่านจงเลือกเอาพรตามที่ใจ
ปรารถนาเถิด.
ไฉนข้าพเจ้าจะพึงได้เห็นต้นไม้นั้นกลับ
มีใบมีผลอีกเล่า ข้าพเจ้าจะยินดีอย่างยิ่งเหมือน
คนจนได้ขุมทรัพย์ ฉะนั้น.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงวัก-
อมตวารีมาประพรมต้นไม้ กิ่งก้านของต้นไม้

นั้นก็งอกงาม มีเงาร่มเย็นเป็นที่น่ารื่นรมย์.
ข้าแต่ท้าวสักกเทวราช ขอให้พระองค์
ทรงพระเจริญสุข พร้อมด้วยพระญาติทั้งปวง
เหมือนดังข้าพระบาทมีความสุข เพราะได้เห็น
ต้นไม้ผลิตผลในวันนี้ ฉะนั้นเถิด.
ท้าวสักกเทวราช ประทานพรแก่ พญา-
นกแขกเต้าทำต้นไม้ให้มีผลแล้ว พาพระมเหสี
เสด็จกลับเทพนันทวัน.

พึงทราบความด้วยสามารถแห่งคำที่มีในก่อนนั้น ก็ข้าพเจ้า
ทั้งหลายจักพรรณนาเฉพาะบทที่ยากเท่านั้น.
บทว่า หริตปตฺตา ได้แก่ ที่สะพรั่งไปด้วยใบสีเขียว. บทว่า
โกฬาเป ได้แก่ ที่ไม่มีแก่นซึ่งเมื่อลมพัดก็ส่งเสียงเหมือนมีใครมาตี
ให้ดัง ฉะนั้น. บทว่า สุวสฺส ความว่า เหตุไรท่านพญานกแขกเต้า
จึงมีใจยินดีในต้นไม้เห็นปานนี้เล่า ? บทว่า ผลสฺส แปลว่า ผลของ
ต้นไม้นั้น. บทว่า เนกวสฺสคเณ เท่ากับ อเนกวสฺสคเณ แปลว่า
นับได้หลายปีมาแล้ว. บทว่า พหู ความว่า แม้เมื่อหลายร้อยก็มีใช่
2 ปี มิใช่ 3 ปีโดยที่แท้คือหลายปีมาแล้ว. บทว่า วิทิตฺวาน เป็นต้น
ความว่า พญานกแขกเต้า เมื่อจะประกาศว่า ข้าแต่พญาหงส์ บัดนี้

พวกเราแม้จะรู้ว่าต้นไม้นี้ไม่มีผล ก็ต้องรักษาไมตรีไว้ให้เหมือนดังแต่
ก่อนไมตรียังมีอยู่ตราบใด พวกเราก็จะไม่ทำลายไมตรีนั้นตราบนั้น
เพราะผู้ทำลายไมตรีไม่ใช่คนดี ไม่ชื่อว่าสัตบุรุษ. บทว่า โอปตฺตํ
ความว่า หมดไปคือไม่มีใบ ได้แก่มีใบร่วงแล้ว. บทว่า กึ โทสํ
ปสฺสเส
ความว่า นกเหล่าอื่นพากันละต้นไม้นั้นไปในที่อื่น ท่านเห็น
โทษอะไรในการไปอย่างนี้. บทว่า เย ผลตฺถา ความว่า นกเหล่าใด
คบหาคือเข้าไปหา เพราะต้องการผลไม้คือเพราะผลไม้เป็นเหตุ ครั้น
รู้ว่าต้นไม้นั้นไม่มีผล ก็ละทิ้งต้นไม้นั้นไป. บทว่า อตฺตตฺถปญฺญา
ความว่า นกเหล่านั้นชื่อว่ามีปัญญาที่เห็นแก่ตัว เพราะมีปัญญาเพื่อ
ประโยชน์ของตน คือมีปัญญาที่ตั้งอยู่ในตนเท่านั้นโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น
บทว่า ปกฺขปาติโน ความว่า นกเหล่านั้นเมื่อหวังแต่ความเจริญเพื่อ
ตนเท่านั้น ย่อมยังฝักใฝ่แห่งมิตรภาพให้ตกไป คือให้พินาศไป เพราะ
เหตุนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้มักทำฝักใฝ่แห่งมิตรภาพให้ตกไป อีกอย่างหนึ่ง
ชื่อว่าเป็นผู้ทำฝักใฝ่แห่งมิตรภาพให้ตกไป เพราะอรรถว่าตกไปใน
ฝักใฝ่ของตนเท่านั้น ดังนี้ก็ได้. บทว่า อปิ นาม นํ ความว่า
ข้าแต่พญาหงส์ ถ้ามโนรสของข้าพเจ้าพึงสำเร็จและพรที่ท่านให้แล้ว
พึงสำเร็จไซร้ ทำไฉนข้าพเจ้าจะพึงเห็นต้นไม้นี้กลับมีใบมีผลได้อีก
แต่นั้นข้าพเจ้าจะยินดีกะต้นไม้นั้น คือพอเห็นต้นไม้นั้นเท่านั้นก็จะปลื้ม
ใจอย่างที่สุด เหมือนคนจนได้ขุมทรัพย์ฉะนั้น. บทว่า อมตมาทาย

คือทรงดำรงอยู่แล้วด้วยอานุภาพของพระองค์ทรงวักน้ำจากแม่น้ำคงคา
มาประพรมแล้ว.
ในชาดกนี้มีอภิสัมพุทธคาถา 2 คาถากับคาถานี้
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า ท้าวสักกเทวราชในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระอนุรุทธะในบัดนี้
พญานกแขกเต้าในครั้งนั้น ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนั้นแล.
จบ จุลลสุวกราชชาดกที่ 4

5. หริตจชาดก



ว่าด้วยกิเลสที่มีกำลังเกล้า



[1246] ข้าแต่มหาพรหม โยมได้ยินเขาพูดกัน
ว่า พระหาริตดาบสบริโภคกาม คำนี้ไม่เป็น
จริงกระมัง ท่านยังเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่แลหรือ ?
[1247] ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระองค์
ได้ทรงสดับถ้อยคำมีแล้วอย่างใด ถ้อยคำนั้น
เป็นจริงอย่างนั้น อาตมภาพเป็นผู้หมกมุ่นอยู่
ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง เดินทางผิด
แล้ว.
[1248] ปัญญาที่ละเอียด คิดสิ่งที่เป็นประโยชน์
เดินเครื่องบรรเทาราคะที่เกิดขึ้นแล้วของท่านมี
ไว้เพื่อประโยชน์อะไร ท่านไม่อาจบรรเทา
ความคิดที่แปลกได้.
[1249] ข้าแต่มหาบพิตร กิเลส 4 อย่างเหล่านี้
คือ ราคะ โทสะ โมหะ มทะ เป็นของมี